ราคาหม้อแปลงไฟฟ้า

Just another WordPress.com weblog

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

Posted by transformae บน มกราคม 11, 2010

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า
ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
3. ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้าขอติดตั้งมิเตอร์เกินกว่า 30 แอมป์ 1 เฟส และ 3 เฟส จะต้องส่งแผนผังการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1 : 100 รวม 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้างการไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ โดยทำหนังมือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้รับมอบอำนาจได้แสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า
1. เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินวายภายในอาคาร
2. เมื่อการไฟฟ้าฯ ได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินสายภายในอาคาร
3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯ ทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯ ที่ท่านขอใช้ไฟฟ้าและโปรดรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไปด้วย

ค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า
ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดอัตราไว้ตามชนิดและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้งโดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ได้ทุกแห่ง ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมการต่อไฟฟ้า
2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังงานไฟฟ้า
4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์ (ถ้ามี)

การชำระค่าไฟฟ้า
1. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระ พนักงานเก็บเงินจะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้านำไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯ จะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
2. ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์จะให้การไฟฟ้าฯ เก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงินควรปฏิบัติ ดังนี้
1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
1.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
1.3 ทำหนังสือแจ้งถึงผู้จัดการการไฟฟ้าฯ
อนึ่ง การไฟฟ้าฯ ได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้าโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเสียค่าบริการแต่อย่างใด ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯ ทุกแห่ง

การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น
2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
3. อื่นๆ เช่น การโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า หรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น
การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วย คือ
3.1 บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (ยกเว้นตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัวของผู้โอน)
3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
3.3 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม (ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย)
3.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย (ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
3.5 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
3.6 ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
3.7 หลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น

การขอยกเลิกใช้ไฟฟ้า
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
2. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
3. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 – 3 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย
เมือท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้อง
ขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้า และมีค่าภาระผูกพันอื่นๆ อยู่อีกหรือไม่แล้วจึงจะคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน

การงดจ่ายไฟฟ้า
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดกฎระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯ จะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้
1. การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน
2. ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน
3. ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องของใช้ไฟฟ้า
4. การละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆ ให้การไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหาย และไม่ยินยอมชำระค่าเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่การไฟฟ้าฯ ได้ขอเรียกเก็บ
5. การกระทำอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวน
ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น

ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระค่าเสียหายให้แก่การไฟฟ้าฯ แล้ว และต้องชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าบริการต่างๆ ตามอัตราที่การไฟฟ้าฯ กำหนดไว้

การละเมิดการใช้ไฟฟ้า เช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิดไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริง ฯลฯ จะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มีโทษทั้งปรับและจำคุก

การไฟฟ้าฯ ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้า เพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น

การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของท่าน ซึ่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่การไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซึ่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯ ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

การตรวจสอบมิเตอร์
การไฟฟ้าฯ จะอ่านหน่วยมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อนมีสิทธิที่จะร้องขอการไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯ จะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน ±2.5% ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯ จะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน ±2.5% การไฟฟ้าฯ จะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่มหรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อนกับไฟ้าในเดือนถัดไป

การย้ายมิเตอร์
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่จะขอย้าย คือ
1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป

การเพิ่มขนาดมิเตอร์
ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯ เพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดของมิเตอร์ ดังนี้
1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ

http://www.chokeroen.com

Posted in หน้าหลัก | Leave a Comment »

ลูกค้าที่สั่งซื้อ

Posted by transformae บน ตุลาคม 3, 2009

รอง ผกก.สภ.อ.พญาเม็งราย
ท่านสมชาย ขัติยะ
ท่านสมชายเป็นตำรวจ ที่น่าเคารพท่านหนึ่ง ในสายตาของผม ท่านเดินเข้ามาแล้วถามผมว่า มีหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสุงจำหน่าย ใช่ใหม ผมตอบว่าครับ ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าท่านเป็น รองผู้กำกับ ท่านถามอะไรไม่มาก ท่านว่าอยากได้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสุงสักลูกหนึ่ง เอาลูกเล็ก ๆ จะใช้กับบ้านท่านหลัีงเดียว โอ้โฮใจถึงมาก ปลูกบ้านหนึ่งหลัง ไม่มีสายไฟฟ้าแรงต่ำผ่าน ติดตั้งหม้อแปลงเองเสียเลย ผมเลยแนะนำท่าน ใช้แค่ 30 kVA.ก้อพอ ท่าน ตกลง ผมมาทราบตอนหลังว่าที่ท่านเลือกซื้อกับ ผมเพราะ หม้อแปลงที่ผมจำหน่าย รับประกัน 10 ปี ฟรีค่าอะไหล่ ฟรีค่านำ้มันหม้อแปลง 5 ปี ท่านพอใจในส่วนนี้มาก เพราะท่านซื้อไปใช้ เอง ท่านบอกว่า ที่อื่นก้อมีแต่ รับประกัน 2-3 ปี ท่านไม่อยากได้ เพราะบ้านหลังนี้ ท่านจะอยู่อีกนาน

Posted in หน้าหลัก | Leave a Comment »

การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง

Posted by transformae บน กรกฎาคม 11, 2009

การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้คงสภาวะปกติและยังทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในระบบฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า นั้นมีส่วน ประกอบหลักคือ น้ำมันฉนวน กระดาษฉนวน ซีล ยาง ฉนวนทองแดง โดยวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสภาพ เมื่อมีความชื้นน้ำ เขม่า สิ่งเจือปนอื่นๆ และก๊าซปะปนอยู่ซึ่งอาจ เป็นสาเหตุให้หม้อแปลงเสียหายหรือช๊อตระเบิดได้ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสภาพ และบำรุงรักษาหม้อแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการลดค่าความเสียหายอีกทั้งยังทำให้ได้ประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้งาน การตรวจเช็คและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงป้องกัน หม้อแปลงไฟฟ้านับว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่จะต้องทำการตรวจเช็คและ บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยปกติทั่วไปควรตรวจเช็คทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า หัวข้อรายการควรตรวจเช็ค

1.ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า (Main Tank)
-ตรวจรอยรั่วซึมของน้ำมัน,คราบน้ำมัน
-ตรวจคราบสกปรก,ฝุ่นและขยะที่เกาะติด
-ตรวจดูว่าเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของตัวถัง 2.การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า
-ตรวจดูปะเก็น/ซีลยางต่างๆ
-ตรวจดูวาวล์ถ่ายน้ำมัน(Drain Valve)

-ตรวจดูวาวล์ทิ้งน้ำมัน(Drain Plug) 3.ชุดกรองความชื้น(Dehydrating Breather)
– ตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล (Silica gel) จาก สีน้ำเงินเข้มเป็นสีชมพูไป 3/4 ของกระบอกกรองความชื้น (ควรแก้ไข)
– ตรวจสอบระดับน้ำมันในถ้วยใต้กระบอกกรองความชื้นว่ามีอยู่ในระดับที่มาตรฐาน
– ตรวจสอบซีลยางและน๊อตสกูรต้องไม่มีคราบน้ำมันซึมและซีลยางไม่แตกระแหง มีผิวเรียบ
– ต้องดึงแผ่นอลูมิเนียมออกก่อนติดตั้งและจ่ายไฟ 4.การตรวจวัดค่า (Insulation Resistance) 2000 MegaOhm – 5000 MegaOhm (20 C)
– H. V. – L.V. ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
– H.V. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
– L.V. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm 5.บุชชิ่งแรงสูง – แรงต่ำ (Bushing)
– ตรวจสภาพผิว(คราบน้ำมัน,รอยอาคท์(Arc),ครีบบิ่นแตก
– ตรวจความสะอาดของบุชชิ่ง
– ตรวจดูรอยรั่วซึมของคราบน้ำมัน ,สภาพซีลยาง (Seal) – ตรวจ Bolt & Nut ของบุชชิ่งแรงสูง-แรงต่ำ

6.ขั้วต่อสายไฟเข้า – ออก ด้านแรงสูงและแรงต่ำ (Terminal Connector H.V.,L.V.)
– ตรวจ ดูรอยอาคท์ (Arc) หรือ Overheat
– ตรวจ Bolt & Nut ของ Terminal Connector ให้แน่น
– ตรวจสอบความสะอาดและทา Compound เพื่อช่วยเคลือบคลุมรอยสัมผัสไว้เป็นการกันความชื้นและอ๊อกซิเจนในอากาศ 7.ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า ( Off Load Tap Changer)
– ตรวจสภาพของ Handle และ Tap Changer ตรงล็อกหรือไม่
– ตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำมันและซีลยาง (Seal)
– ตรวจสอบการอาคท์(Arc)หรือเชื่อมติดของ Tap Changer โดยการหมุนไป – มา 4-5 ครั้ง

8.ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (ถ้ามี)
– สังเกตการขยับตัวของเข็มวัดระดับ(ถ้ามี) – ตรวจดูระดับน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน(20 Celsius)หรือไม่
– ตรวจขัน น๊อต สกูรให้แน่น
– ตรวจสอบรอยรั่วซึมน้ำมันและซีลยาง(Seal)
– ตรวจสอบ กระจก/พลาสติก ว่าแตกชำรุดหรือไม่ 9. เทอร์โมมิเตอร์ (ถ้ามี)
– ตรวจสอบกระจก/พลาสติกหน้าปัทม์แตกชำรุดหรือไม่
– ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน
– ตรวจสอบค่าที่วัดอุณหภูมิ Top oil เกินค่าที่กำหนดหรือไม่ (ไม่เกิน 60 Celsius) – ตรวจสอบการทำงานของอุณหภูมิถูกต้องหรือไม่

10.อุปกรณ์ความดัน(Pressure Relief Device) (ถ้ามี)
– ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน 11.บุชโฮรีเลย์ (Buchholz Relay) (ถ้ามี)
– ตรวจสอบกระจก/หน้าปัทม์แตกชำรุดหรือไม่
– ตรวจสอบมี Gas สะสมมากผิดปกติหรือไม่
– ทดสอบการทำงาน

12. น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า – ทดสอบค่า Breakdown Voltage ตามมาตรฐาน ASTM หรือ IEC
– ตรวจสอบสีของน้ำมัน
– ตรวจสอบค่าความเป็นกรด,ความหนืด
– ตรวจสอบสิ่งเจือปนในน้ำมัน

Posted in หน้าหลัก | Tagged: | Leave a Comment »

มองหา ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง อยู่ใช่ใหม

Posted by transformae บน มิถุนายน 12, 2009

หากคุณ กำลังมองหา หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงดี ๆ สักเครื่อง คุณอยากได้แบบใหน ระบบอะไร ราคาสักเท่าไหร่ มีประกันใหม สอบถามเราได้ทุกเรื่องที่เกียวกับหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสุงได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้

เบื่อใหม

เวลาหา ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงจาก อินเตอร์เน็ต แล้วพบว่า แต่ละเว็บ ที่เข้าไปดู ไม่มี ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ให้ดู ต้องเสียค่าโทรศัพท์สอบถาม ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง อีกที ซึ่งบางทีก้อได้ข้อมูลมาเลย แต่บางเว็บก้อหวงข้อมูลราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงเหลือเกิน ทำยังกะให้ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงไปแล้ว จะทำให้ขาดทุนกำไร เสียหาย ซะงั้น ต่อไปนี้ ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้อีกต่อไป มาถามที่ผมได้เลย ให้ข้อมูล ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ทุกขนาด ทุกระบบ พร้อม กันนั้น ผมยังมี ราคาอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ราถูก ราคาตู้ MDB สั่งประกอบให้ใหม่ทุกเครื่อง/ตู้ ราคาไม่ต้องพูดถึง ถูกกว่าซื้อหน้าโรงงาน เพราะผมเป็นตัวแทนจำหน่าย ทีมีส่วนลดราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง จาก บริษัทผู้ผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่าน ยี่ปั้ว ซาปั้ว ให้ปวดหัวใจ  รวมทั้งอุปกรณ์แรงสูง และตู้ MDB รับประกันราคา เหมือน บิ๊กซี ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงที่ใหนถูกกว่า เรายินดี ซื้อต่อทันที (เฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง มือหนึ่ง และมีการรับประกันพอ ๆ กัน) ของไม่ดีจริง ราคาหม้อแปลงไฟฟ้า ไม่ถูกจริง ไม่มีประกัน หรือประกันแบบขอไปที ก้อไม่ขาย ผมจะขายแต่ของ ที่ดีที่สุด ที่ราคาถูกที่สุด รับประกันแบบสะใจ ใช้กันจนลืม

ดูรายระเอียด ราคาหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง

Posted in หน้าหลัก | Tagged: | 7 Comments »